ปรัญชากศน.เสนา "จัดการความรู้ ควบคู่คุณธรรม น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง" วิสัยทัศน์ "กศน.เสนามุ่งมั่นจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" อ้ตลักษณ์ "ผู้เรียนมีอาชีพและรายได้" เอกลักษณ์ "ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในชุมชนอย่างหลากหลาย"

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ร่วมพิธีถวายพระพร ณ ศาลาประชาคม อำเภอเสนา

5 ธันวาคม พ.ศ.2556

      นายพานิช ศรีงาม ผอ. กศน.อำเภอเสนา พร้อมคณะข้าราชการ ครู กศน.ตำบล และ ครูศรช. ร่วมพิธีถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ

 5 ธันวามหาราช  โดยในปีนี้ ที่ว่าการอำเภอเสนา ได้จัดพิธีถวายพระพรขึ้น ณ ศาลาประชาคม อำเภอเสนา ซึ่งข้าราชการทุกหมู่เหล่า พร้อมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน ต่างก็มาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงและสวยงาม


ความเป็นมาของวันพ่อ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ


กศน.อำเภอเสนาต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก ASEM : Asia Europe Meeting

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2556
        นายพานิช  ศรีงาม ผอ.กศน.อำเภอ พร้อมครูครู และบุคลากร กศน.อำเภอเสนา ได้มีโอกาสต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จาก ASEM ( ASEM คือ การประชุมเอเซีย - ยุโรป Asia Europe Meeting)  ซึ่งในการเดินทางมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้แทนด้านการศึกษาจากประเทศ UK China German japan Lavia australia และ Philippines

 คณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมชมงานส่งเสริมการอ่าน ณ ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารีอำเภอเสนา" 
โดยทางเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ห้องสมุดฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านไว้หลากหลายสำหรับต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เช่น เกมปริศนาสุภาษิต ยำสำนวน การสอนคอมพิวเตอร์โปรแกรมพาวเวอร์พ้อยท์ และ การจัดกิจกรรมวอลค์แรลลี่ เป็นต้น 





จากนั้นได้เดินทางไปดูงานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลสามกอ เพื่อชมการประดิษฐ์ตุ๊กตานกฮูกจากฝีมือชาวบ้านตำบลสามกอ 


หลังจากนั้นได้ไปเยี่ยมชม กศน.ตำบลชายนา เพื่อดูการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ ซึ่ง กศน.ตำบลชายนา ได้เป็นศูนย์ ICT ที่เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตในตำบลชายนา ทั้งนี้การมาศึกษาดูงานจากกลุ่มประเทศสมาชิก ASEM ในครั้งนี้ได้มี ทีมงาน จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ตามถ่ายทำรายการเพื่อการศึกษาไว้เป็นบทเรียนสำหรับสอนนักศึกษาด้วย
สุดท้าย ผอ พานิช  ศรีงามได้มีโอกาสพาคณะศึกษาดูงานไปท่านข้าวเย็นและเที่ยวชมโบราณสถานที่สำคัญภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับเป็นประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศที่น่าประทับมาก

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ห้องสมุดเคลื่อนที่ กศน.อำเภอเสนา

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
                 ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ร่วมกับ กศน.อำเภอเสนา และ สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  ณ โรงเรียนเทศบาลวัดสุธาโภชน์ ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 


               โดยแบ่งเป็นฐานกิจกรรม 6 ฐาน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวอาเซียน , ปริศนาสุภาษิต , ยำสำนวน , วรรณคดีไทย , หนังสือน่าอ่านกับรถโมบาย , ภาษาอาเซียน 


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปฐมนิเทศและมอบเกียรติบัตร ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 
กศน.อำเภอเสนา จัดปฐมนิเทศและมอบเกียรติบัตร นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ 
ประจำภาคเรียนที่ 2/2556


                      นายพานิช ศรีงาม ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเสนา ได้มอบหมายให้ นางวันดี วรรณธนะ ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2/2556 ณ อาคารอเนกประสงค์ กศน.อำเภอเสนา 



                          ครูวันดี วรรณธนะ ชี้แจงโครงสร้างหลักสูตรและแนะนำแนวทางการเรียน การสอน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ พุทธศักราช 2551 และมอบเกียรติบัตรให้แก่ตัวแทนนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักศึกษา กศน.ตัวอย่างที่ประพฤติตนเป็นคนดีมีคุณธรรม จากทั้ง 17 ตำบล

                         
                     ชั่วโมงสุดท้ายของการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ทางกศน.อำเภอเสนา ได้จัดให้มีความบรรยายสอดแทรกความรู้วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดย ครูนักรบ ฤทธิสาร ได้มาสอนภาษาอังกฤษง่ายๆเพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและกระตุ้นให้นักศึกษาเรียนรู้ภาาษาอังกฤษด้วยตัวเอง


คณะครู กศน.อำเภอเสนา ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหลังจากเสร็จกิจกรรมในวันนี้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ ตำบลบ้านโพธิ์ ได้รับความสนใจจากตัวแทนองค์กรยูเนสโกแห่งประเทศไทยขอศึกษาดูงานการจัดกิจกรรม


วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
กศน.ตำบลบ้านโพธิ์ นำโดย ครู ขนิษฐา ลีลาชัยเจริญภัณฑ์ ครู กศน.ตำบลบ้านโพธิ์ ได้จัด
โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ ตำบลบ้านโพธิ์ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ ในเรื่องการเตรียมตัวก่อนเกิดอุทกภัย ระหว่างเกิดอุทกภัย และ หลังจากเกิดอุทกภัย โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากตัวแทนองค์กรยูเนสโกแห่งประเทศไทยได้ขอศึกษาดูงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
หลังจากจัดกิจกรรมอบรมความรู้ให้ประชาชนเสร็จ ผอ.พานิช ศรีงาม ผอ.กศน.อำเภอเสนา และ ครู กศน.ตำบลบ้านโพธิ์ พร้อมเครือข่าย นายก อบต.ตำบลบ้านโพธิ์ ได้พาตัวแทนองค์การยูเนสโก ศึกษาดูงานโรงซ่อมและอนุรักษ์เรือไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางพื้นฐานให้ประชาชนเรียนรู้ที่จะอยู่กับภาวะน้ำท่วมด้วยการหันกลับมาใช้ชีวิตอยู่กับน้ำ และหันกลับมาใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจรเมื่อถึงหน้าน้ำท่วม

จากนั้นคณะศึกษาดูงานจากองค์กรยูเนสโก ได้เข้าเยี่ยมชม กศน.ตำบลบ้านโพธิ์ และ นั่งเรือชมวิถีชีวิตสองฝั่งคลอง รางจรเข้ ตำบลบ้านโพธิ์ เข้าเยี่ยมดูงาน โฮมสเตย์รางจรเข้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจของอำเภอเสนา



วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ร่วมงานสุดยอดการเรียนภาษา การคิดวิเคราะห์

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556
              กศน.อำเภอเสนา นำโดยนายพานิช ศรีงาม ผอ.กศน.อำเภอเสนา และ ครู กศน.ตำบล เข้าร่วมงาน "สุดยอดการเรียนภาษาและคิดวิเคราะห์" (Language Learning and Thinking Showcase) ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทราราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

โดยภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการสาธิตการเรียนการสอนในรูปแบบต่างที่ส่งเสริมการเรียนภาษา และเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนในหลายรูปแบบ เช่น การเล่นเกมส์ การถ่ายภาพยนต์ 3 มิติ การทำสื่อประกอบการเรียนการสอนต่างๆ ที่น่าสนใจและสามารถนำมาประยุกต์และต่อยอดเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนใน กศน.ตำบลได้เป็นอย่างดี



วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

23 ตุลาคม 2556 กศน.อำเภอเสนาถวายพวงมาลา ถวายบังคับพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช

23 ตุลาคม 2556 
วันปิยมหาราช หมายถึง วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
กศน.อำเภอเสนา ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ





พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)
  



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า [2]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [3] โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว" [2]
เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราช รวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา



พระมเหสี พระราชินี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด 92 พระองค์ โดย 36 พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก 56 พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์



พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ


การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410

ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ
ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก
ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม

   ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436- พ.ศ. 2447)
   ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447

   วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร
และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450



การเสียดินแดนให้อังกฤษ
เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 ( นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี



พระราชปณิธาน
พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเรา และต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง
ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงาย และชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา

พระราชนิพนธ์
ทรงมีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง
1 ไกลบ้าน
2 เงาะป่า
3 นิทราชาคริต
4 อาบูหะซัน
5 พระราชพิธีสิบสองเดือน
6 กาพย์เห่เรือ
7 คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา
8 ตำรากับข้าวฝรั่ง
9 พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
10 โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410
ระยะครองราชย์ 42 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู
สวรรคต 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดา สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
พระมเหสี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระราชโอรส/ธิดา 77 พระองค์

  
(ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ) 

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา

รายงานสรุปผลการอบรม
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
ของสำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2556

ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                ชื่อกิจกรรม                           โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
                กลุ่มเป้าหมาย                      ผอ.กศน.อำเภอทุกอำเภอ , ข้าราชการ กศน. , ครู กศน.ตำบล ,ครู ศรช. ,
บรรณารักษ์ , และ บุคลากร กศน.ทุกอำเภอ
รวมผู้เข้ารับการอบรม 200 คน / กศน.อำเภอ 16 อำเภอ
                ระยะเวลาสถานที่วันที่      วันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2556
ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                รูปแบบเนื้อหา                      กิจกรรม
                                                                วันที่ 16 ตุลาคม 2556
ช่วงแรก  บรรยายให้ความรู้โดยนำเสนอผ่านโปรแกรม Power poin
โดยท่าน ดร.ปาน กิมปี ในหัวข้อ “แนวคิดการประกันคุณภาพ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” (
Quality Assurance)
ช่วงที่สอง บรรยายให้ความรู้เนื้อหาเกี่ยวกับตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน กศน. และผลการประเมินคุณภาพที่ผ่านมาโดยทีมวิทยากรจากกลุ้มพัฒนา กศน. โดย อ.สมชาย. ฐิติรัตนอัคศร์. อ. จตุรงค์. ทองดารา. อ.เขมิสรา. กุลมาตย์
วันที่ 17 ตุลาคม 2556
ช่วงแรก บรรยายให้ความรู้โดย ท่านศึกษานิเทศก์ ชาญ นพรัตน์
ในหัวข้อ “ประสบการณ์การประเมินคุณภาพ กศน.”
ช่วงที่สอง การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรงจาก กศน.อำเภออุทัย และ กศน.อำเภอบ้านแพรก ซึ่งได้ผ่านการประเมินคุณภาพจาก สมศ. มาแล้วให้เล่าประสบการณ์และให้คำแนะนำแก่เพื่อนกศน.อำเภออื่นๆทั้ง 14 อำเภอ
ช่วงที่สาม บรรยายให้ความรู้โดย ท่าน ผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ อดีต ผอ.กศน.จังหวัดเพชรบุรี ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามและบทบาทหน้ามี่ของผู้เกี่ยวข้อง”
วันที่ 18 ตุลาคม 2556
ช่วงแรก แบ่งกลุ่ม กศน.อำเภอเป็น 4 กลุ่มศูนย์ ได้แก่ กลุ่ม PPB , กลุ่มราชเรือหลวง , กลุ่มบ้านแพน , กลุ่มพุทธรักษา เพื่อปฏิบัติการการจัดทำแผนเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ กศน.จังหวัดและ กศน.อำเภอ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กิจกรรม
                1.กิจกรรมการดำเนินงานการเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
                2. การรับการประเมินคุณภาพภาย
ช่วงที่สอง ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มศูนย์นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ช่วงที่สาม ตัวแทนกลุ่ม ผอ.กศน.อำเภอ และ สนง.กศน.จังหวัด กำหนแผนการประเมินภายใน และ การนิเทศติดตามผลการประเมินในช่วงเดือน มกราคม พฤษภาคม โดยผู้ประเมินภายในและผู้นิเทศติดตามแบ่งเป็นอย่างละ 3 กลุ่ม และกำหนดวันประเมินและนิเทศติดตามพร้อมแจ้งให้แต่ละอำเภอทราบ

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺
สรุปการอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
                ด้านปัจจัย             ได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการอบรมจาก สำนักงาน กศน.จังหวัด
                                                พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ กศน.อำเภอที่ยัง
                                                ไม่ได้ผ่านการประเมิน ทั้งนี้ กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงถือว่าได้สร้าง
                                                บทบาทที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้ารับการประเมินจาก สมศ.
                                                ให้กับ กศน.อำเภอทั้ง 14 อำเภอ
                ด้านกระบวนการ การดำเนินการจัดกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมแบบอบรมบรรยาย พร้อมถอด
                                                บทเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจาก กศน.อำเภออุทัย และ กศน.อำเภอบ้าน
                                                แพรกซึ่งผ่านการประเมินจาก สมศ.มาแล้ว ใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 3 วัน
                จุดเด่นที่พบระหว่างการดำเนินงาน
                                                การได้รับฟังการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ผ่านการประเมินแล้วนั้น ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมองเห็นภาพรวมของการประเมินของ สมศ.ชัดเจนขึ้น และเข้าใจได้ง่ายกว่าการฟังข้อมูลทางวิชาการเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องการความชัดเจนนั้นคือเครื่องมือในการเก็บหลักฐานในแต่ละตัวบ่งชี้ ซึ่งบางครั้งการตีความจากตัวอักษรทางวิชาการนั้นทำให้เกิดความคิดที่แตกแยกกันมากมาย การได้รับฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ผ่านการประเมินแล้วนั้น ช่วงสร้างบรรทัดฐานในส่วนนี้ได้
                จุดด้อยที่ต้องปรับปรุง
                                                เนื้อหาบางส่วน เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ทั้งจากทาง สมศ.และ จาก สนง.กศน. นั้นเป็นเนื้อหาที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว จึงไม่สมควรนำมากล่าวซ้ำหรือให้ผู้เข้ารับการอบรมลุกขึ้นอ่านที่ละมาตรฐานหรือทีละตัวบ่งชี้ เพราะทำให้ผู้อบรมเสียเวลาและไม่สามารถช่วยตอบข้อกังวลหรือตอบปัญหาความสงสัยในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการประเมินของผู้เข้ารับการอบรมได้

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺