ปรัญชากศน.เสนา "จัดการความรู้ ควบคู่คุณธรรม น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง" วิสัยทัศน์ "กศน.เสนามุ่งมั่นจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" อ้ตลักษณ์ "ผู้เรียนมีอาชีพและรายได้" เอกลักษณ์ "ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในชุมชนอย่างหลากหลาย"

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา

รายงานสรุปผลการอบรม
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
ของสำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2556

ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                ชื่อกิจกรรม                           โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
                กลุ่มเป้าหมาย                      ผอ.กศน.อำเภอทุกอำเภอ , ข้าราชการ กศน. , ครู กศน.ตำบล ,ครู ศรช. ,
บรรณารักษ์ , และ บุคลากร กศน.ทุกอำเภอ
รวมผู้เข้ารับการอบรม 200 คน / กศน.อำเภอ 16 อำเภอ
                ระยะเวลาสถานที่วันที่      วันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2556
ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                รูปแบบเนื้อหา                      กิจกรรม
                                                                วันที่ 16 ตุลาคม 2556
ช่วงแรก  บรรยายให้ความรู้โดยนำเสนอผ่านโปรแกรม Power poin
โดยท่าน ดร.ปาน กิมปี ในหัวข้อ “แนวคิดการประกันคุณภาพ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” (
Quality Assurance)
ช่วงที่สอง บรรยายให้ความรู้เนื้อหาเกี่ยวกับตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน กศน. และผลการประเมินคุณภาพที่ผ่านมาโดยทีมวิทยากรจากกลุ้มพัฒนา กศน. โดย อ.สมชาย. ฐิติรัตนอัคศร์. อ. จตุรงค์. ทองดารา. อ.เขมิสรา. กุลมาตย์
วันที่ 17 ตุลาคม 2556
ช่วงแรก บรรยายให้ความรู้โดย ท่านศึกษานิเทศก์ ชาญ นพรัตน์
ในหัวข้อ “ประสบการณ์การประเมินคุณภาพ กศน.”
ช่วงที่สอง การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรงจาก กศน.อำเภออุทัย และ กศน.อำเภอบ้านแพรก ซึ่งได้ผ่านการประเมินคุณภาพจาก สมศ. มาแล้วให้เล่าประสบการณ์และให้คำแนะนำแก่เพื่อนกศน.อำเภออื่นๆทั้ง 14 อำเภอ
ช่วงที่สาม บรรยายให้ความรู้โดย ท่าน ผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ อดีต ผอ.กศน.จังหวัดเพชรบุรี ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามและบทบาทหน้ามี่ของผู้เกี่ยวข้อง”
วันที่ 18 ตุลาคม 2556
ช่วงแรก แบ่งกลุ่ม กศน.อำเภอเป็น 4 กลุ่มศูนย์ ได้แก่ กลุ่ม PPB , กลุ่มราชเรือหลวง , กลุ่มบ้านแพน , กลุ่มพุทธรักษา เพื่อปฏิบัติการการจัดทำแผนเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ กศน.จังหวัดและ กศน.อำเภอ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กิจกรรม
                1.กิจกรรมการดำเนินงานการเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
                2. การรับการประเมินคุณภาพภาย
ช่วงที่สอง ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มศูนย์นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ช่วงที่สาม ตัวแทนกลุ่ม ผอ.กศน.อำเภอ และ สนง.กศน.จังหวัด กำหนแผนการประเมินภายใน และ การนิเทศติดตามผลการประเมินในช่วงเดือน มกราคม พฤษภาคม โดยผู้ประเมินภายในและผู้นิเทศติดตามแบ่งเป็นอย่างละ 3 กลุ่ม และกำหนดวันประเมินและนิเทศติดตามพร้อมแจ้งให้แต่ละอำเภอทราบ

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺
สรุปการอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
                ด้านปัจจัย             ได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการอบรมจาก สำนักงาน กศน.จังหวัด
                                                พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ กศน.อำเภอที่ยัง
                                                ไม่ได้ผ่านการประเมิน ทั้งนี้ กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงถือว่าได้สร้าง
                                                บทบาทที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้ารับการประเมินจาก สมศ.
                                                ให้กับ กศน.อำเภอทั้ง 14 อำเภอ
                ด้านกระบวนการ การดำเนินการจัดกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมแบบอบรมบรรยาย พร้อมถอด
                                                บทเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจาก กศน.อำเภออุทัย และ กศน.อำเภอบ้าน
                                                แพรกซึ่งผ่านการประเมินจาก สมศ.มาแล้ว ใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 3 วัน
                จุดเด่นที่พบระหว่างการดำเนินงาน
                                                การได้รับฟังการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ผ่านการประเมินแล้วนั้น ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมองเห็นภาพรวมของการประเมินของ สมศ.ชัดเจนขึ้น และเข้าใจได้ง่ายกว่าการฟังข้อมูลทางวิชาการเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องการความชัดเจนนั้นคือเครื่องมือในการเก็บหลักฐานในแต่ละตัวบ่งชี้ ซึ่งบางครั้งการตีความจากตัวอักษรทางวิชาการนั้นทำให้เกิดความคิดที่แตกแยกกันมากมาย การได้รับฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ผ่านการประเมินแล้วนั้น ช่วงสร้างบรรทัดฐานในส่วนนี้ได้
                จุดด้อยที่ต้องปรับปรุง
                                                เนื้อหาบางส่วน เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ทั้งจากทาง สมศ.และ จาก สนง.กศน. นั้นเป็นเนื้อหาที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว จึงไม่สมควรนำมากล่าวซ้ำหรือให้ผู้เข้ารับการอบรมลุกขึ้นอ่านที่ละมาตรฐานหรือทีละตัวบ่งชี้ เพราะทำให้ผู้อบรมเสียเวลาและไม่สามารถช่วยตอบข้อกังวลหรือตอบปัญหาความสงสัยในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการประเมินของผู้เข้ารับการอบรมได้

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น